วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553

หน่วยที่ 7

บทที่ 7 การจัดการข้อมูล
กิจกรรมที่ควรเพิ่มให้กับนักเรียน
1.จำแนกประเภทของหน่วยข้อมูลได้
ตอบ หน่วยข้อมูลประกอบด้วยหน่วยที่เล็กที่สุด
1.บิต (Bit) 2.อักขระ (character) 3.ไบต์ (Byte) 4.ฟิลด์ (Field) 5.เเรกคอร์ด 6. ไฟล์ (Field) 7.ฐานข้อมูล

2.อธิบายประเภทแฟ้มข้อมูลได้
ตอบ เเบ่งรูปแบบของรูปแบบของการจัดเก็บข้อมูลประเภทต่าง ๆ ประกอบด้วยประเภทแฟ้มข้อมูลฐานดังนี้
1.แฟ้มข้อมูลหลัก คือ แฟ้มข้อมูลที่จัดเก็บข้อมูลตามที่มีการเปลี่ยนแปลงน้อยหรือไม่มีการเปลี่ยน แปลงเลย เช่น แฟ้มข้อมูลที่จัดเก็บข้อมูล
2.แฟ้มข้อมูลการเปลี่ยนแปลง คือ แฟ้มข้อมูลที่มีการจัดเก็บข้อมูลตามช่วงเวลาที่กำหนดและเป็นแฟ้มข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เช่น แฟ้มข้อมูลรายการเสนอขายสินค้า
3.แฟ้มรายงาน คือ แฟ้มข้อมูลที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูลประเภทรายงาน
4.แฟ้มชั่วคราว คือ แฟ้มข้อมูลที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใชในการทำงานที่ไม่ทำให้ผลกระทบต่อแฟ้มข้อมูล
5.แฟ้มข้อมูลสำรอง คือ การทำซ้ำข้อมูล ไฟล์ หรือโปรแกรม ในสื่อเก็บข้อมูลชนิดอื่น ๆ

3.อธิบายลักษณะการประมวลผลของข้อมูลได้
ตอบ การประมวลผลข้อมูล
1.แบบกลุ่ม เป็นวิธีการประมวลผลซึ่งกำหนดช่วงเวลาในการเก็บข้อมูล
2.แบบทันที เป็นวิธีการประมวลผลแบบทันทีต้องการผลลัพธ์ในทันทีเมื่อมีการจัดทำรายงาน
4.จำแนกความแตกต่างของโครงสร้างของข้อมูลแต่ละประเภทได้
ตอบ การจัดการโครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบ่งออกได้ 3 ลักษณะคือ
1.โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ เป็นรูปแบบโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถใช้งานง่ายที่สุด
2.โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบสุ่ม เป็นรูปแบบโครงสร้างที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง
3.โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบลำดับดรรชนี เป็นรูปแบบโครงสร้างที่รวมเอาความสามารถของโครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับกับข้อมูลแบบสุ่มไวด้วยกัน

5.จำแนกความแตกต่างระหว่างแฟ้มข้อมูลและฐานข้อมูลได้
ตอบ



1. ฐานข้อมูลมีส่วนการบรรยายโครงสร้างข้อมูลแยกจากฐานข้อมูล

ฐานข้อมูลมีส่วนการบรรยายโครงสร้างข้อมูลแยกจากฐานข้อมูลกล่าวคือ ในระบบฐานข้อมูลนั้นมีส่วนที่เรียกว่า แค็ตตาล็อก (catalog) หรือพจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary) ซึ่งเก็บรายละเอียดทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างของข้อมูลในฐานข้อมูลไว้ เช่น ชนิดและรูปแบบของข้อมูลในฐานข้อมูล และข้อจำกัดต่างๆ ที่มีต่อข้อมูลแต่ละส่วน เป็นต้น ในขณะที่แฟ้มข้อมูลจะเก็บรายละเอียดเหล่านี้ไว้ในส่วนของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานด้วยกันเลย ซึ่งอาจกระจัด กระจายไปอยู่ตามส่วนต่างๆ จึงทำให้ไม่สะดวกต่อการใช้และปรับปรุงงาน









2. โปรแกรมคอมพิวเตอร์และข้อมูลแยกกันโดยเด็ดขาดในระบบฐานข้อมูล
โปรแกรมคอมพิวเตอร์และข้อมูลแยกกันโดยเด็ดขาดในระบบฐานข้อมูล นั่นคือส่วนของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้จัดการข้อมูลจะถูกพัฒนาออกมา ซึ่งเรียกกันว่า ระบบจัดการฐานข้อมูล ส่วนข้อมูลก็จะแยกอยู่ในส่วนของฐานข้อมูล ซึ่งการแยกนี้เป็นการซ่อนรายละเอียดของการจัดการข้อมูลไว้จากตัวข้อมูล เพื่อผู้ใช้จะได้ไม่ต้องยุ่งยากกับรายละเอียดของการจัดเก็บข้อมูล โดยให้ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลเป็นเครื่องมือจัดการให้แทน ซึ่งแตกต่างจากระบบแฟ้มข้อมูลที่จะรวมส่วนของโปรแกรมและข้อมูลไว้ด้วยกัน ผลเสียก็คือ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของข้อมูล ส่วนของโปรแกรมก็จะต้องปรับตามไปด้วย มิฉะนั้น แฟ้มข้อมูลดังกล่าวก็จะไม่สามารถนำมาใช้งานได้อีก









3. ฐานข้อมูลสนับสนุนการใช้งานของข้อมูล
ฐานข้อมูลสนับสนุนการใช้งานของข้อมูลในหลายๆ รูปแบบผู้ใช้คนหนึ่งอาจจะต้องการรายงาน หรือข้อสรุปของข้อมูลชุดหนึ่งในหลายๆ รูปแบบ ทั้งแบบตาราง แบบกราฟ และแบบบทความ ซึ่งในส่วนนี้ ระบบจัดการฐานข้อมูลจะเป็นผู้ดูแลให้แก่ผู้ใช้ ส่วนในแนวคิดแบบแฟ้มข้อมูลนั้น เมื่อผู้ใช้ต้องการรายงานแบบใหม่ ผู้ใช้จะต้องเขียนโปรแกรมขึ้นมาใหม่ เพื่อ ให้ได้งานอย่างที่ต้องการ ซึ่งค่อนข้างยุ่งยากและเสียเวลาในการใช้งานอย่างมาก








4. การใช้ข้อมูลร่วมกันและการประมวลผล
การใช้ข้อมูลร่วมกันและการประมวลผลการเปลี่ยนแปลงรายการแบบหลายผู้ใช้ (multiuser transaction processing)ระบบจัดการฐานข้อมูลสำหรับผู้ใช้หลายๆ คนพร้อมกัน ต้องมีการอนุญาตให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลในเวลาเดียวกันได้ โดยที่ระบบจะต้องจัดการข้อมูลให้แก่ผู้ใช้แต่ละคนอย่างถูกต้องด้วย ถึงแม้ว่าผู้ใช้เหล่านั้นจะเรียกใช้ข้อมูลเดียวกัน ณ เวลาเดียวกัน ในระบบจัดการฐานข้อมูลจะต้องมีส่วนควบคุมการทำงานแบบพร้อมกัน (Concurrency Control) ซึ่งในการทำงานแบบแฟ้มข้อมูลจะไม่มีส่วนจัดการในเรื่องนี้









กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ท้าบบท บทที่ 7
1. ครูนำเอกสารตัวอย่างที่มีการกรอกข้อมูลไว้แล้วหรือยกตัวอย่างข้อมูล เช่น การลงทะเบียนของนักเรียนข้อมูลผลการเรียนของนักเรียนเเต่ละวิชา เเล้วให้นักเรียนตอบคำถามเเต่ละบุคคล โดยดูจากข้อมูล เเล้ว ตอบคำถามว่าส่วนใดคือ ฟิลด์ เรคอร์ดไฟล์ หรือไบต์
ตอบ ฟิลด์ = การลงทะเบียนของนักเรียน
เรคอร์ดไฟล์ = ข้อมูลผลการเรียนเเต่ละวิชา


2.ให้นักเรียนตอบคำถามเป็นรายบุคคล เมื่อยกตัวอย่างกรณีศึกษาว่าถ้าต้องการนำข้อมูลนักเรียนไปจัดเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์เพื่อใช้เป็นทะเบียนในการบันทึกผลคะแนนให้แก่นักเรียนแต่ละบุคคล เเละสำหรับการปกครอง เพื่อใช้ในการบันทึกข้อมูลนักเรยนที่มาสาย ลา หรือ ขาดเรียน เราควรจะประมวลผลข้อมูลเเบบเเฟ้มข้อมูล หรือ เเบบฐานข้อมูล เพราะอะไร
ตอบ ระบบฐานข้อมูล เพราะจะนำแฟ้มข้อมูลหลาย ๆ เเฟ้มเเละประมวลผลพร้อมกันเลย


3.ให้นักเรียนนำเสนอถึงเหตุผลที่ต้องสำรองข้อมูลและอุปกรณ์ที่นำมาใช้ในการสำรองข้อมูลโดยอุปกรณ์ใดบ้างและใช้ปัจจัยใดในการเลือกอุปกรณ์ที่ใช้ในการสำรองข้อมูล
ตอบ Magneto optical Disk Drive เป็นสื่อเก็บข้อมูลขนาด 3.5 นิ้ว ขนาดพอ ๆ กับ Floppy disk dive แต่ขนาดความจุอันนี้ต่างกันมากทีเดียว เพราะว่า 1 แผ่นสามารถเก็บบรรจุได้ตั้งแต่ขนาด 128MB จนถึงระดับ 5.2GB เลยทีเดียว ส่วน interface ที่เห็นโดยส่วนใหญ่ก็จะเป็น SCISI II, Ultra SCISI เนื่องด้วยขนาดข้อมูลที่เก็บค่อนข้างใหญ่จึงไม่นิยมที่จะใช้ USB Port มากนัก โดยจุดประสงค์ของการใช้ MO Disk drive โดยส่วนใหญ่จะเอามาใช้เป็นตัวสำรองข้อมูลจริง ๆ แทน Tape Backup แต่มีข้อดีกว่าที่สามารถ Random Access ข้อมูลได้ ต่างจาก Tape Backup ที่ไม่สามารถทำการ Random Access ข้อมูลได้ ทำให้สามารถเรียกข้อมูลเป็นบางส่วนกลับคืนมาได้ ส่วนเรื่องความเร็วในการส่งข้อมูลโดยเฉลี่ย (Data Transfer rate) ประมาณ 5MB/s ส่วนเรื่องราคาต่อขนาด MO Drive ค่อนข้างจะสูงมากเมื่อเทียบกับ Hard drive หรือ Tape Backup Magneto optical Disk Drive



วันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2553

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6
ระบบปฏิบัติการ

กิจกรรมฝึกทักษะที่ควรเพิ่มให้นักเรียน
1.บอกความหมายเเละหน้าที่ของระบบปฏิบัติการได้
ตอบ ระบบปฏิบัติการคือ โปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการประสานงานระหว่างการทำงานของซอฟต์แวณ์ต่าง ๆ และอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ใช้สามารถปฏิบัติงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ได้
หน้าที่ คือ การติดต่อกับผู้ใช้การควบคุมอุปกรณ์เเละการทำงานต่างๆของระบบคอมพิวเตอร์ และการจัดการสรรทรัพยากรในระบบ

2.จำแนกประเภทของระบบปฏิบัติการได้
ตอบ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1.ระบบปฏิบัติการเเบบเดี่ยว
2.ระบบปฏิบัติการเเบบฝัง
3.ระบบปฏิบัติการเเบบเครือข่าย

3.อธิบายองค์ประกอบของระบบปฏิบัติการได้
ตอบ ภายในระบบปฏิบัติการ มีองค์ประกอบสำคัญได้แก่ การจชัดการไฟล์ การจัดการหน่วยความจำ อุปกรณืนำเข้าและผลข้อมูล การจัดการหน่วยประมวลผลกลางและการจัดการความปลอดภัย เป็นต้น

4.บอกระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยมนำมาใช้งานในปัจจุบันได้
ตอบ 1.ดอส (DOS:Disk Operating System)
2.วินโดวส์ (Windown)
3.ยูนิกซ์ (Unix)
4.ลินุกซ์ (Linux)
5.แมคอินทอช( Macintosh)


กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้
1.ในระบบปฏิบัติการ Windows 7 มีระบบ License ทัั้งในแบบ FPP License และ OEM License ทั้ง 2 แบบนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร ให้นักเรียนนำเสนอข้อมูลความแตกต่างระหว่าง 2 License ทั้งสองรูปแบบนี้ แล้วนักเรียนซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่มาใช้่ภายในบ้านจะเลือกใช้ License แบบใด
ตอบ 1. FPP License หรือ Full Package Product License จะมาในรูปแบบของกล่องซึ่งเหมาะ สำหรับผู้ใช้ซอฟต์แวร์ส่วนบุคคล ใช้ตามบ้านทั่วๆ ไป หรือนิสิตนักศึกษาเป็นหลัก โดยอาจจะต้องมีความรู้ในการติดตั้งเองสักหน่อย เช่นต้องหาแผ่น driver ต่างๆ ของเครื่องเราเอง แต่ก็มีความคล่องตัวในการย้ายเครื่องได้มากกว่า
สิทธิ์ที่ได้

- 1 กล่องจะสามารถใช้งานได้เพียง 1 เครื่องเท่านั้น
- สามารถโอนย้ายข้ามเครื่อง ได้ โดยการย้ายข้ามเครื่องต้องลบซอฟต์แวร์ออกจากเครื่องเก่าก่อนแล้วทำการติดตั้งในเครื่องใหม่ แล้วทำการโทรเข้า ศ.บริการของ Microsoft เพื่อทำเรื่องของ Activation Software อีกทีหนึ่ง
- ไม่ได้รับสิทธิในการใช้งานเวอร์ชั่นเก่าได้ (Downgrade Right)
- ไม่สามารถใช้งานข้ามภาษาได้
- อาจจะได้รับ Software Assurance ในกรณีที่กำลังจะมีการออกรุ่นใหม่ออกมาทำให้เราได้รับการอัพเกรดฟรี สิ่งที่อยู่ในกล่อง
- คู่มือการใช้งาน
- ใบรับรองสินค้าของแท้ (Certificate of Authenticity: COA) ติดอยู่ข้างกล่อง
- ใบอนุญาตการใช้งานสำหรับผู้ใช้ ปลายทาง (End User License Agreement)
- แผ่นดิสก์ หรือ CD ROM
2. OEM License หรือ Origianl Equipment Manufacturer จะเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการซื้อเครื่องใหม่ องค์กร หรือห้างร้านที่ไม่ต้องการยุ่งยากกับการใช้ซอฟต์แวรที่ไม่ต้องการยุ่งยากในการติดตั้งและหา driver ต่างๆ โดยจะติดตั้งมาให้พร้อมใช้งานทันที
สิทธิ์ที่ได้รับ

- 1 กล่องจะสามารถใช้งานได้เพียง 1 เครื่องเท่านั้น
- ซื้อพร้อมกับเครื่องใหม่เท่านั้นและจะติดไปกับเครื่องนั้นเท่านั้น โดยที่ไม่สามารถย้ายเครื่องได้ในกรณีที่เครื่องเสีย โดยในกรณีที่เป็นเครื่องที่เป็น partner กับ Microsoft อย่างถูกต้องจะมีชื่อผู้ผลิตเครื่องระบุในตัว COA ด้วยซึ่งถ้ามีปัญหาใดๆ ก็จะอ้างอิงจาก S/N เครื่องเป็นหลัก แต่ถ้าเป็นการติดตั้งแบบ OEM ที่ซื้อต่างหากที่ให้กับร้านค้าประกอบเครื่องเองเช่นในห้างไอทีต่างๆ ในไทยนั้นจะผูกติดกับ M/B เป็นหลัก ถ้า M/B ของเครื่องนั้นๆ เสีย OEM License ตัวนั้นก็จะสิ้นสุดสิทธิ์ในการใช้งานไปด้วย
- ได้รับสิทธิในการใช้งานเวอร์ชั่นเก่าได้ (Downgrade Right) แต่ก็ตามที่ระบุไว้นะครับว่าต่ำสุดได้เท่าไหร่
- ไม่สามารถใช้งานข้ามภาษาได้
- อาจจะได้รับ Software Assurance ในกรณีที่กำลังจะมีการออกรุ่นใหม่ออกมาทำให้เราได้รับการอัพเกรดฟรี
สิ่งที่อยู่ในกล่อง OEM

- OEM จะมีสติ๊กเกอร์ใบรับรองสินค้าของแท้ (Certificate of Authenticity: COA) ให้มาแปะกับเครื่องและจะไม่สามารถนำออกไปได้ถ้าติดไปแล้วโดยจะมี CD
-Key ระบุไว้อย่างชัดเจนบน สติ๊กเกอร์นั้นๆ
- ใบหรือการ์ดระบุคุณลักษณะในการใช้งานทั่วไป
- ใบอนุญาตการใช้งานสำหรับผู้ใช้ ปลายทาง (End User License Agreement)
- แผ่นดิสก์ หรือ CD ROM (มีเฉพาะกับของ Windows เท่านั้นซอฟต์แวร์ตัวอื่นๆ จะไม่มี)
จะเลือกใช้แบบ FPP

2ให้นักเรียนเสนอความคิดเห็น การจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ของระบบปฏิบัติการWindowsจะส่งผลอย่างไรต่อผู้บริโภค และจะมีวิธีหลีกเลี่ยงปัญหาค่าลิขสิทธิ์ได้หรือไม่ อย่างไร
ตอบ ส่งผลต่อการใช้จ่ายต้องเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เพราะว่าเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้

3.ให้นักเรียนนำเสนอแนวการคิดกับการพัฒนาซอฟต์แวร์ของคนไทย เมื่อในประเทศไทยมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลการพัฒนาซอฟต์แวร์ในสายพันธุ์ไทย เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้คนไทยได้พัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นมาใช้เอง แต่ยังมีปัญหาเรื่องการเผยแพร่และนำไปใงนอย่างจริงจัง ให้นักเรียนคิดว่าจะมีแนวทางอย่างไรที่จะทำให้คนไทยมาร่วมกันใช้ซอฟต์แวร์ที่ผลิตโดยคนไทย และจะทำให้เกิดประโยชน์อย่างไรต่อประเทศในอนาคต
ตอบ จัดหน่วยซึ่งให้คำปรึกษา และแนะนำ เพื่อให้คนไทยเกิดความสนใจในการพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นมาใช้เองในไทย

วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553

กิจกรรม

หน่วยการเรียนรู้ที่5
ซอฟต์แวร์

กิจกรรมฝึกทักษะที่ควรเพิ่มให้นักเรียน
1.บอกความหมายและประเภทของซอฟแวร์ได้
ตอบ โปรแกรม หรือชุดคำสั่งที่สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้อง

2.อธิบายภาษาคอมพิวเตอร์ได้
ตอบ ภาษาคอมพิวเตอร์ คือภาษที่ใช้ในการติดต่อกับคอมพิวเตอร์โดยถูกนำมาเขียนเป็นชุดคำสั่ง (Program) ให้เครื่องทำงานตามคำสั่งของภาษานั้น ในปัจจุบันภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับเขียนโปรแกรมมีมากมายหลายภาษา ซึ่งแต่ละภาษาจะมีกฎเกณฑ์และวิธีการเขียนโปรแกรมแต่ต่างกัน ภาษาคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ
1. ภาษาระดับต่ำ (Low Level Language)
2. ภาษาระดับสูง (High Level Language)

1. ภาษาระดับต่ำ (Low Level Language)
เป็นภาษาที่ใช้ในยุคแรก ๆ จะมีความยุ่งยากในการเขียนมากแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1.1 ภาษาเครื่อง (Machine Language)
1.2 ภาษาแอสแซมบลี (Assembly Language)

1.1 ภาษาเครื่อง (Machine Language)
เป็นภาษาหรือคำสั่งที่ใช้ในการสั่งงานหรือติดต่อกับเครื่องโดยตรงลักษณะสำคัญ
ของภาษาเครื่องจะประกอบด้วยรหัสของเลขฐานสองซึ่งเทียบได้กับลักษณะของสัญญาณ ทางไฟฟ้าเข้ากับหลักการทำงานของเครื่องซึ่งเครื่องสามารถเข้าใจและพร้อมที่ จะทำงานตามคำสั่งได้ทันทีภาษาเครื่องจะมีกฏเกณฑ์ทางไวยากรณ์ค่อนข้างจำกัด โปรแกรมมีลักษณะค่อนข้างยุ่งยากซับซ้อน รหัสโครงสร้างของแต่ละคำสั่งของภาษาเครื่องจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ
ก. รหัสบอกประเภทของคำสั่ง (Operation Code หรือ Op-Code) เป็นส่วนที่บอกคำสั่งให้เครื่องทำการประมวลผล เช่นให้ทำการบวก ลบ คูณ หาร หรือเปรียบเทียบ
ข. รหัสบอกตำแหน่งข้อมูล (Operand) เป็นส่วนที่บอกว่าข้อมูลที่จะนำมาประมวลผลนั้นเก็บอยู่ในตำแหน่ง (Address) ใดของหน่วยความจำ
ลักษณะของโปรแกรมจะประกอบด้วยกลุ่มของรหัสคำสั่ง ซึ่งประกอบด้วยเลข
ฐานสองเรียงต่อกัน ซึ่งผู้เขียนโปรแกรมจะต้องทราบถึงเทคนิคการใช้รหัสคำสั่งและจะต้องจำตำแหน่งของคำสั่งของข้อมูลที่ถูกเก็บไว้ เพราะเนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละบริษัทจะใช้ภาษาเครื่องของตนเอง และผู้เขียนโปรแกรมจะต้องเข้าใจระบบการทำงานของเครื่องเป็นอย่างดี ดังนั้นการเขียนโปรแกรมเป็นภาษาเครื่องจึงมีผู้เขียนอยู่ในวงจำกัด เพราะต้องมีความรู้ทางด้านเครื่องและรหัสของเครื่องด้วยจึงจะเขียนโปรแกรมได้ ภาษาเครื่องของคอมพิวเตอร์แต่ละระบบจะแตกต่างกัน ทำให้เกิดความไม่สะดวกเมื่อมีการเปลี่ยนเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบใหม่ก็จะต้องเขียนโปรแกรมใหม่
ข้อดี ของภาษาเครื่อง
1. เมื่อคำสั่งเข้าสู่เครื่องจะสามารถทำงานได้ทันที
2. สามารถสร้างคำสั่งใหม่ ๆ ได้ โดยที่ภาษาอื่นทำไม่ได้
3. ต้องการหน่วยความจำเพียงเล็กน้อย
ข้อเสีย ของภาษาเครื่อง
1. ต้องเขียนโปรแกรมคำสั่งยาวทำให้ผิดพลาดได้ง่าย
2. ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องรู้ระบบการทำงานของเครื่องเป็นอย่างดีจึงสามารถเขียนโปรแกรมได้ และถ้าเครื่องที่มีฮาร์ดแวร์ต่างกัน จะใช้โปรแกรมร่วมกันได้

1.2 ภาษาแอสแซมบลี (Assembly Language)
จัดเป็นภาษาสัญลักษณ์ (Symbolic Language) เป็นภาษาที่พัฒนามาจาก
ภาษาเครื่องโดยใช้สัญลักษณ์ข้อความแทนกลุ่มของเลขฐานสอง ทำให้การเขียนโปรแกรมสะดวกขึ้นแต่ผู้เขียนโปรแกรมยังคงต้องจำความหมายสัญลักษณ์ที่ใช้แทนคำสั่งต่าง ๆ การเขียนโปรแกรมภาษาแอสแซมบลี มีลักษณะที่ต้องขึ้นอยู่กับเครื่องเราไม่สามารถนำโปรแกรมภาษาแอสแซมบลีไปใช้กับเครื่องต่างชนิดกันได้ ดังนั้น ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องเข้าใจระบบการทำงานของเครื่องเป็นอย่างดี การเขียนโปรแกรมด้วยภาษานี้ วิธีการก็คล้ายกับการเขียนโปรแกรมภาษาเครื่องแต่อย่างไรก็ตามคอมพิวเตอร์จะรู้จักแต่เฉพาะภาษาเครื่องเท่านั้น ดังนั้นจึงต้องมีการแปลภาษาแอสแซมบลีให้เป็นภาษาเครื่องเสียก่อน เครื่องจึงจะสามารถทำงานตามโปรแกรมคำสั่งได้โปรแกรมที่ทำหน้าที่แปลภาษานี้เรียกว่าแอสแซมเบลอร์ (Assembler)

ข้อดี ของภาษาแอสแซมบลี
- การเขียนโปรแกรมเขียนง่ายกว่าภาษาเครื่อง

ข้อเสีย ของภาษาแอสแซมบลี
- ขั้นตอนการเขียนโปรแกรมมีลักษณะคล้ายภาษาเครื่องทำให้โปรแกรมคำสั่งต้องเขียนยาวเช่นเดิม
2. ภาษาระดับสูง (High Level Language)
เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่ได้รับการพัฒนา ให้สามารถใช้ได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น การเขียน
ภาษาไม่ขึ้นกับฮาร์ดแวร์หรือลักษณะการทำงานภายในของเครื่อง ผู้เขียนโปรแกรมไม่จำเป็นต้องเข้าใจระบบการทำงานภายในเครื่องมากนัก เพียงแต่เข้าใจกฎเกณฑ์ในกาเขียนแต่ละภาษาให้ดี ซึ่งลักษณะคำสั่งจะคล้ายกับภาษาอังกฤษ ดังนั้นภาษาระดับสูงจึงเป็นที่นิยมใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน
แต่อย่างไรก็ตามภาษาระดับสูงเครื่องจะยังไม่เข้าใจ จึงต้องมีการแปลให้เป็นภาษาเครื่องเสียก่อน โปรแกรมที่ใช้แปลภาษาระดับสูง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ อินเทอพรีทเตอร์ (Interpreter) และคอมไพเลอร์ (Compiler)

2.1 อินเทอพรีทเตอร์ (Interpreter)
เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง การแปลจะแปลที
และคำสั่งและทำงานตามคำสั่งทันที แล้วจึงไปอ่านคำสั่งต่อไป ในกรณีที่โปรแกรมมีลักษณะการทำงานแบบวนซ้ำ (Loop) อินเทอพรีทเตอร์จะต้องแปลคำสั่งนั้นซ้ำแล้วซ้ำอีก จึงทำให้การแปลแบบอินเทอพรีทเตอร์ทำงานซ้ำ อินเทคพรีทเตอร์จะไม่สร้างออฟเจ๊ทโปรแกรม (Object Program) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่แปลเป็นภาษาเครื่องเก็บไว้ ฉะนั้นทุกครั้งที่สั่งให้โปรแกรมทำงานอินเทอพรีทเตอร์ก็จะเริ่มแปลใหม่ทุกครั้ง เครื่องจะเริ่มทำงานทันทีเมื่ออินเทอพรีทเตอร์แปลคำสั่งเสร็จและจะหยุดทำงานเมื่อดินเทอพรีทเตอร์พบข้อผิดพลาดในคำสั่งที่แปล และจะรายงานความผิดพลาดทันที ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องแก้ไขโปรแกรมคำสั่งให้ถูกแล้วสั่งให้โปรแกรมเริ่มทำงานใหม่ อินเทอพรีทเตอร์ก็จะเริ่มแปลคำสั่งนั้นใหม่ภาษาที่ใช้อินเทคพรีทเตอร์แปล เช่น ภาษาBASICA และGWBASIC เป็นต้น
2.2 คอมไพเลอร์ (Compiler)
เป็นโปรแกรมที่ใช้แปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง คอมไฟเลอร์จะทำการ
แปลทั้งโปรแกรม แล้วเก็บโปรแกรมที่แปลได้ในรูปของภาษาเครื่องเก็บไว้ในลักษณะของออฟเจ็ท โปรแกรม (Object Program) ถ้าโปรแกรมที่แปลไม่มีข้อผิดพลาดก็จะปฏิบัติงานตามคำสั่งนั้น ๆ ทันทีแต่ถ้าโปรแกรมมีข้อผิดพลาด คอมไพเลอร์ก็จะบอกข้อผิดพลาดทั้งหมดที่มีในโปรแกรมออกมาให้ทราบ และจะยอมให้ออฟเจ็ทโปรแกรมทำงานต่อเมื่อโปรแกรมได้รับการแก้ไขจนไม่มีข้อผิด พลาดแล้ว โปรแกรมที่ถูกแปลจะเก็บไว้เป็นออฟเจ็ทโปรแกรมในหน่วยความจำ จึงทำให้ต้องใช้เนื้อที่ในหน่วยความจำมากกว่าอินเทอพรีทเตอร์ เพราะต้องเก็บตัวโปรแกรมภาษา (Source Program) ออฟเจ็ท โปรแกรม (Object Program) และคอมไฟเลอร์ (Program)
เมื่อแก้ไขข้อผิดพลาดแล้ว คอมไพเลอร์จะทำการแปลทั้งโปรแกรมใหม่เพื่อเก็บเป็นออฟเจ็ทโปรแกรมอีกครั้งหนึ่งในกรณีที่มีการทำงานแบบวนซ้ำ (Loop) เครื่องจะนำเอาออฟเจ็ทโปรแกรมที่แปลเก็บไว้ไปใช้ทำงาน โดยไม่ต้องมีการแปลซ้ำอีก ทำให้การทำงานเร็วกว่าการแปลแบบอินเทอพรีทเตอร์ ภาษาที่ใช้คอมไพเลอร์แปล ได้แก่ ภาษา C, COBOL, FORTRAN,PL/1, TURBO BASIC,PASCAL เป็นต้น

3.อธิบายรูปแบบของตัวแปลภาษาได้
ตอบ คอมพิวเตอร์จะทำงานตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่เป็นภาษาเครื่อง แต่ภาษาเครื่องเข้าใจและจดจำได้ยาก จึงมีการพัฒนาภาษาคอมพิวเตอร์ในรูปแบบที่เป็นตัวอักษร เป็นประโยคข้อความ ที่จะทำให้เข้าใจง่าย ที่เรียกว่า ภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูง
ภาษาคอมพิวเตอร์ที่เป็นภาษาระดับสูง ที่นำมาใช้พัฒนาซอฟต์แวร์นั้นที่เป็นที่รู้จักและนิยมใช้ในการเขียนโปรแกรมต่างๆ เช่น ภาษาปาสคาล ภาษาเบสิก ภาษาซี ภาษาโลโก และภาษาจาวา เป็นต้น
แต่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจคำสั่งภาษาเครื่องเท่านั้น ไม่สามารถเข้าใจภาษาดังกล่าว ดังนั้นโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาระดับสูง จะต้องมีตัวแปลภาษา ซึ่งตัวแปลภาษามีหลายประเภท ตัวแปลภาษาที่แปลจากภาษาระดับสูงไปเป็นภาษาเครื่อง เรียกว่า คอมไพเลอร์ (compiler) และตัวแปลที่แปลจากภาษาระดับสูงไปเป็นภาษาเครื่องทีละคำสั่ง แล้วคอมพิวเตอร์ก็กระทำการตามภาษาเครื่องนั้นแล้วย้อนกับมาแปลคำสั่งต่อไปอีกเป็นลำดับไป เรียกว่า อินเทอร์พรีเตอร์ (interpreter)

ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ควรรู้จัก

ภาษาเบสิค (BASIC Language) สามารถเขียนโปรแกรมได้ง่ายและรวดเร็วกว่าภาษาอื่น เหมาะกับงานธุรกิจขนาดเล็ก และเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเริ่มศึกษาการเขียนโปรแกรม ลักษณะการทำงานของภาษาเบสิคระหว่างที่มีการเขียนโปรแกรม และรันโปรแกรม สามารถตรวจสอบการทำงานได้ตลอดเวลา ทำให้ผู้เขียนโปรแกรมสามารถพิมพ์โปรแกรมเข้าเครื่อง และแก้ไขข้อผิดพลาดได้ทันที เมื่อพบข้อผิดพลาด เป็นภาษาที่ง่ายต่อการเรียนรู้และสามารถใช้งานได้บนเครื่องทุกระดับ
ภาษาวิชวลเบสิก (Visual Basic Language) เป็นภาษาที่นำโครงสร้างของภาษาเบสิกมาใช้ โดยเพิ่มส่วนการเขียนโปรแกรมเป็นลักษณะ การเขียนโปรแกรมแบบ Visual ซึ่งหมายถึง การเขียนโปรแกรมด้วยภาพ หรือ การเขียนโปรแกรมด้วยสิ่งที่เรามองเห็น ที่เรียกกันว่าการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ
ภาษาปาสคาล (Pascal Language) ภาษาปาสคาลเป็นภาษาที่มีโครงสร้างที่เหมาะสำหรับการเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้าง สามารถเขียนโปรแกรมแบ่งเป็นโปรแกรมย่อยได้อย่างง่าย ทำให้การพัฒนาและแก้ไข ทำได้อย่างรวดเร็ว เหมาะกับผู้เริ่มต้นเขียนโปรแกรม
ภาษาภาษาเดลไฟล์ (Delphi) เป็นภาษาที่นำโครงสร้างของภาษา Pascal มาใช้ โดยเพิ่มส่วนการเขียนโปรแกรมเป็นลักษณะ การเขียนโปรแกรมแบบ Visual ซึ่งหมายถึง การเขียนโปรแกรมด้วยภาพ หรือการเขียนโปรแกรมด้วยสิ่งที่เรามองเห็น ที่เรียกกันว่าการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ
ภาษาซี (C Language) ภาษาซี เป็นภาษาที่นิยมใช้ในการเขียนโปรแกรมมาก เป็นภาษาระดับสูงที่มีประสิทธิภาพในการทำงานได้เร็วมากเมื่อเทียบกับภาษาอื่นๆ สามารถใช้ในงานด้านต่าง ๆ มากมาย สามารถสร้างงานกราฟิก สามารถทำงานได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างประเภท โดยมีการคอมไพล์ใหม่ แต่ไม่ต้องแก้ไขโปรแกรมอย่างใด
ภาษาวิชวลซี(Visual C) เป็นภาษาที่นำโครงสร้างของภาษา C มาใช้ โดยเพิ่มส่วนการเขียนโปรแกรมเป็นลักษณะ การเขียนโปรแกรมแบบ Visual ซึ่งหมายถึง การเขียนโปรแกรมด้วยภาพ หรือการเขียนโปรแกรมด้วยสิ่งที่เรามองเห็น ที่เรียกกันว่าการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ
ภาษาจาวา (Java Language) เป็นภาษาที่มีโครงสร้างของภาษาคล้าย C++ ลักษณะเด่น คือ เป็นภาษาที่สามารถทำงานได้บนระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกัน นำไปใช้ในการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ทั่วไป และกำลังได้รับความนิยมมาก
ภาษา HTML (Hypertext Markup Language) เป็นภาษาที่มีกฎเกณฑ์และโครงสร้างเฉพาะตัว แต่จะไม่เข้มงวดเหมือนกับ กฎเกณฑ์ของภาษาเบสิค หรือภาษาซี ภาษา HTML ใช้สำหรับเขียนเว็บเพ็จบนอินเตอร์เน็ต โดยสามารถเขียนเชื่อมโยงกับเอกสารในรูปของข้อความ รูปภาพ วิดีโอ หรือเสียงก็ได้
ภาษา PHP เป็นภาษาที่คำสั่งต่างๆจะเก็บอยู่ในไฟล์ที่เรียกว่าสคริปต์ (script) และเวลาใช้งานต้องอาศัยตัวแปลชุดคำสั่ง ลักษณะของภาษา PHP คือพัฒนาและออกแบบมา เพื่อใช้งานในการสร้างเอกสารแบบ HTML โดยสามารถ สอดแทรกหรือแก้ไขเนื้อหาได้โดยอัตโนมัติและมีความสามารถในการจัดการฐานข้อมูลได้ดี
ภาษา XML (Extensible Markup Language) เป็นภาษาที่ใช้การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบเว็บเพ็จที่มีโครงสร้าง โดยโครงสร้างของภาษา XML เป็นแฟ้มข้อความ (text file) ที่ใช้แท็ก (tag) ในการกำหนดชื่อและขนาดของข้อมูล ปัจจุบันองค์การอิสระที่ชื่อว่า World Wide Web Consortium (W3C) เป็นผู้ดูแลมาตรฐานของภาษานี้ เพื่อที่จะได้ใช้เป็นภาษาที่มีมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก

ยังมีภาษาคอมพิวเตอร์อีกมากมายที่มีผู้พัฒนาขึ้น บางภาษาก็ไม่มีการใช้งาน หรือมีการใช้งานน้อยมาก เช่น เช่น ภาษาโคบอล ภาษาฟอร์แทรน เป็นต้น
และมีภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการจัดการฐานข้อมูลโดยตรง เช่น ภาษาดีเบส ภาษาฟอกซ์โปร ภาษาคลิปเปอร์ เป็นต้น


กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้
1.ให้นักเรียนค้นหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต โดยให้หาความหมายคำว่า "Open Source" และให้บอกซอฟแวร์โอเพนซอร์ช ที่รู้จักในปัจจุบันมา 3 ชนิด
ตอบ หมายถึง ประเภทของโปรแกรม ที่เปิดเผยคำสั่งที่ใช้สร้างโปรแกรมนั้นๆ โดยมีจุดมุ่งหมาย ให้คนอื่นๆ สามารถนำไปแก้ไขปรับปรุงเป็นของตัวเองได้ โดยไม่ ผิดกฎหมายลิขสิทธิ์ เป็นประเภทหนึ่งของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สร้างจาก ภาษาคอมพิวเตอร์ต่างๆ เพื่อใช้งานตามวัตถุประสงค์นั้นๆ
2.ให้นักเรียนค้นหาซอฟต์ที่พัฒนาโดยคนไทย และให้บอกคุณสมบัติของซอฟต์แวร์ดังกล่าว
ตอบ +cfont Pro โปรแกรมแสดงรูปแบบของตัวอักษร
คุณสมบัติ
ง่ายต่อการใช้งาน แค่ติดตั้งโฑปรแกรม โปรยแกรมก็จะดึง FOUT ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราออกมาแสดงรูปแบบให้ดู

3.ให้นักเรียนค้นหาข้อมูล ความรู้เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ที่ได้บังคับใช้ในปัจจุบัน
ตอบ ลิขสิทธิ์ของซอฟต์แวร์
ความเป็นมาของกฎหมายลิขสิทธิ์

ในประเทศไทยการกำหนดลิขสิทธิ์ได้ปรากฏครั้งแรกราว พ.ศ.2445 ในรัชกาลที่ 5 เพื่อป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรม (Literacy) เรื่อง "วัชิรญาณวิเศษ" และได้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายใหม่ในปี พ.ศ.2457 สมัยรัชกาลที่ 6 โดยยังคงเน้นงานด้านวรรณกรรม ต่อมาในปีพ.ศ.2474 สมัยรัชกาลที่ 7 ได้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายฉบับนี้มีความสมบูรณ์ครอบคลุมงานอื่น ๆ อีกเช่น งานคิดค้นทางวิทยาศาสตร์และผลงานของชาวต่างชาติแก่กฎหมายฉบับนี้มีบทลงโทษในสถานเบา ในปีพ.ศ.2521 ได้เพิ่มงานสื่อภาพ เสียง และวีดีโอให้ครอบคลุมของกฎหมาย จากนั้นอีก 15 ปี คือ พ.ศ.2534 รัฐบาลได้ประกาศขยายความครอบคลุมงานด้านวรรณกรรม ที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ การนำไปเผยแพร่และการให้เช่า งานด้านสื่อภาพ เสียง (Visual - Sound - Video) พระราชบัญญัติฉบับนี้ถูกใช้มาจนถึงปัจจุบันโดยเริ่มบังคับใช้ในวันที่ 21 มีนาคม 2538 ภายใต้ความรับผิดชอบดูแลของกรมลิขสิทธิ์ทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ (Department of Intellectual Property - DIP)

ลิขสิทธิ์ในซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ถูกกำหนดนิยามเป็นชุดของคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดที่ใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้หรือได้ผลลัพธ์ใด ๆ ออกมา ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ถือเป็นงานวรรณกรรม (Literacy) คล้าย ๆ กับหนังสือ บทประพันธ์ บทบรรยาย การละเมิดลิขสิทธิ์จะถูกลงโทษโดยการปรับ 20,000 ถึง 200,000 บาท หากละเมิดกระทำไปเพื่อหวังผลกำไร - เป็นการค้า จะปรับ 100,000 ถึง 800,000 บาท หรือจำคุก 6 เดือนถึง 4 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ การป้องกันสิทธิ์จะครอบคลุมตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์งานนั้น ๆ บวก 50 ปี การขอลิขสิทธิ์จะต้องจัดเตรียมหนังสือมอบอำนาจทำการแทน (ถ้ามี) แบบฟอร์มคำร้องขอจำนวน 3 ชุด ชุดสิ่งประดิษฐ์ 2 ชุดหรือภาพถ่าย (ในกรณีมิอาจนำสิ่งของ - ผลงานมายื่นเสนอได้)
ข้อยกเว้นเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ด้านคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์

ผู้ละเมิดจะไม่มีความผิดหาก

- มิได้มีเจตนาเพื่อการค้าหรือแสวงหากำไร

- มิได้ล่วงล้ำสร้างความเสียหายที่รุนแรงใด ๆ ต่อเจ้าของลิขสิทธิ์

การบังคับใช้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์จะครอบคลุมถึงคอมพิวเตอร์จากต่างประเทศ ดังนี้

- ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์มีสัญชาติหรือเป็นพลเมืองของประเทศที่เป็นสมาชิกของกลุ่ม ความตกลงกรุงเบริน (Berne Convention for Protection of Literacy and Artistic Works) เช่น USA, UK, JAPAN

- งานนั้นได้จดสิทธิบัตรไว้ในประเทศที่เป็นสมาชิกของ Berne หรือ TRIPs

(องค์กรต่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นสมาชิกอยู่ เช่น United Nations - UN, WHO - World Health Organization) เป็นต้น


4.ให้นักเรียนเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับกรณีที่สถานศึกษาต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ของซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งนักเรียนเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยอย่างไร
ตอบ เห็นด้วย เพราะ เกิดจากความคิดของคน